FAAST
Fraud Analytic & Automated Solution Technology
การฉ้อโกงและความเสี่ยงจึงเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น เพราะผลที่ตามมานั้นมักจะเป็นเรื่องที่ร้ายแรง ที่ไม่ใช่เพียงแค่การสูญเสียเงินทองเท่านั้น แต่รวมไปถึงสิ่งที่ประเมินค่าไม่ได้ ซึ่งก็คือ ชื่อเสียง และความน่าเชื่อถืออีกด้วย
การจัดการปัญหาเรื่องความเสี่ยงและการฉ้อโกง โดยการนำ FAAST เข้ามาช่วย
FAAST ย่อมาจาก Fraud Analytic & Automated Solution Technology เป็นระบบบริหารจัดการความเสี่ยงและป้องกันการฉ้อโกง คอยตรวจสอบการทำธุรกรรม และกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กร และจะทำการยับยั้งการทำธุรกรรม หรือกิจกรรมที่ระบบวิเคราะห์ว่ามีความเสี่ยง หรือน่าสงสัย และแจ้งเตือนผู้ที่เกี่ยวข้องทันที เพื่อให้เข้ามาตรวจสอบและดำเนินการตามกระบวนการในองค์กร
FAAST ทำงานอย่างไร ?
1. การนำข้อมูลเข้าระบบ
ขั้นตอนแรกของการ implement และใช้งานระบบ คือการระบุเงื่อนไขและข้อมูลที่ต้องการตรวจสอบ โดย FAAST รองรับวิธีการนำเข้าข้อมูลทั้งแบบ real time, near real time, และ batch
• Real Time, Near Real Time – สามารถเชื่อมต่อโดยการใช้ web service หรือ message queue ได้ โดยระบบมาพร้อมกับ API สำหรับเร็จรูป เพื่อให้การเชื่อมต่อสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว
• Batch – สามารถเชื่อมต่อได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งการเชื่อมต่อตรง data warehouse และ text file ในรูปแบบต่างๆ เช่น delimited file หรือ fixed length file
ขั้นตอนนี้ FAAST จะมีผู้เชี่ยวชาญและนักวิเคราะห์ที่มีประสบการณ์ ให้คำปรึกษาและแนะนำ ตั้งแต่จุดที่ควรเชื่อมต่อระบบ ไปจนถึงวิธีการหรือเทคนิคที่จะใช้ ข้อดีข้อเสียของแต่ละวิธี เพื่อให้ได้วิธีที่ดีที่สุดในการเชื่อมต่อนำเข้าข้อมูล
2. การตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล
หลังจากได้ข้อมูลเข้าระบบมาแล้ว FAAST จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทำ Rule-Based Analysis และ Behavior Analysis
• Rule-Based Analysis คือ การวิเคราะห์พฤติกรรมเทียบกับ Rule-Based (Known Fraud Pattern) ซึ่งมีการตั้งค่าไว้ในระบบ โดยในขั้นตอนการ Implement และการตั้งค่า ทาง FAAST จะมีผู้เชี่ยวชาญคอยแนะนำและให้คำปรึกษา โดย Rule-Based Analysis ยังถือว่าเป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับการตรวจสอบ Known Fraud Pattern อีกด้วย
• Behavior Analysis คือ การวิเคราะห์พฤติกรรมที่ผิดไปจากพฤติกรรมปกติของลูกค้า หรือบัญชี เช่น มีการโอนเงินในจำนวนมากผิดปกติ หรือการทำธุรกรรมจากมือถือที่ไม่เคยใช้ไปยังบัญชีปลายทางที่ไม่เคยโอนมาก่อน
3. การแจ้งเตือนและตรวจสอบธุรกรรมน่าสงสัย
เมื่อตรวจพบธุรกรรมน่าสงสัย FAAST จะทำการแจ้งเตือนผ่าน Case Management ซึ่งเป็น Web Application สำหรับให้ผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้อง เช่น นักวิเคราะห์ธุรกรรมน่าสงสัย ผู้จัดการหน่วยงาน Anti-Fraud หรือ IT Admin เป็นต้น โดย Case Management จะแสดงรายละเอียดของธุรกรรม หรือกิจกรรม ที่น่าสงสัย หรือมีความเสี่ยง พร้อมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อให้ผู้ใช้งานระบบเข้าตรวจสอบ และดำเนินการตามขั้นตอน เช่น การยกเลิกธุรกรรม หรือหยุดการใช้งาน user หรือบัญชี แบบชั่วคราว ในกรณีที่ยืนยันได้ว่าเป็นการฉ้อโกงจริง หรืออนุญาตให้ทำธุรกรรมต่อได้หากพบว่าไม่ใช่การฉ้อโกง โดย IC จะมาพร้อมกับ Conficgurable Workflow ที่ออกแบบให้มีการใช้งานที่ง่าย ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งได้เองเพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานจริงได้ อีกทั้งยังมี feature ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถสร้าง report ได้ด้วยตัวเองอีกด้วย
- สามารถวิเคราะห์ธุรกรรมหรือกิจกรรม ได้ทั้งแบบ real time, near real time และ batch ผ่านการเชื่อมต่อระบบที่หลากหลาย เช่น Webservice, Message Queue, รวมถึงการอ่านจากฐานข้อมูล หรือไฟล์รูปแบบต่างๆ
- มาพร้อมกับ FAAST Rule ที่เปิดโอกาสให้ทีมเฝ้าระวังหรือทีมนักวิเคราะห์ สามารถสร้าง rule ได้เองอย่างรวดเร็ว เพื่อที่จะสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมลูกค้า หรือมิจฉาชีพได้อย่างทันท่วงที
- มี Report Wizard ที่เปิดโอกาสให้ทีมนักวิเคราะห์ สามารถสร้าง report ได้เอง โดยไม่ต้องรอให้โปรแกรมเมอร์แก้ไขโปรแกรม
- ให้คำแนะนำและบริการโดยทีมงานคนไทยที่มีประสบการณ์ด้านการ implement ระบบ Anti-Fraud Solution มากกว่า 10 ปี
Sales Manager
Kritsakorn Kucharoenpaisan
Telephone
+66 (0)87-516-3403
kritsakorn.k@magicsoftware.co.th